• Connect with us

    Enter Books

    Uncategorized

    ความแตกต่างระหว่าง เชฟ กับ กุ๊ก

    เชฟ’ กับ กุ๊ก’ แตกต่างกันยังไง

    เคยสงสัยกันไหม? คำที่ใช้เรียกคนทำอาหารที่ทำให้เราสับสนกันมาตลอดอย่าง ‘เชฟ’ กับ ‘กุ๊ก’ แท้จริงแล้วทั้ง 2 คำ นี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละคนมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

     

    ‘เชฟ’ (Chef) นักวิทยาศาสตร์แห่งวงการอาหาร

    ที่มาของคำว่าเชฟมีรากฐานจากภาษาฝรั่งเศสมาจากคำว่า Chef de cuisine ซึ่งมีความหมายว่า ‘หัวหน้าพ่อครัว’ แต่โดยทั่วโลกคำว่า Chef จะเป็นชื่อที่ใช้เรียกคนที่ได้รับการฝึกฝนทางด้านการทำอาหารตั้งแต่ระดับอาหารทั่วไปจนถึงอาหารระดับสูง

    อีกหน้าที่สำคัญของเหล่าเชฟ ก็คือการคิดค้นและทดลองหาเมนูอาหารใหม่ๆ รังสรรค์อาหารที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อนเพื่อพัฒนาวงการอาหารขึ้นไปอีก ถ้าพูดเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เชฟก็เปรียบดังนักวิทยาศาสตร์ในวงการอาหารนั่นเอง

    การจะเป็นเชฟนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมันเป็นอาชีพในฝันของใครหลายๆ คน ที่รักในการทำอาหารนอกจากชอบทำอาหารแล้วพวกเขาต้องเรียนรู้หลักวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ควบคู่ไปกับอาหารด้วย การทำความรู้จักกับวัตถุดิบคุณสมบัติของมัน, สถานที่ที่จะตามหาพวกมัน, ฤดูกาลที่ทำให้วัตถุดิบมีรสชาติที่ยอดเยี่ยมที่สุด

    ทั้งหมดนับว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงที่คนทั่วไปไม่อาจหยั่งถึง เรียกได้ว่าแค่ความชอบอย่างเดียวคงไม่พอที่จะทำให้เป็นเชฟได้ พวกเขาต้องศึกษาทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตเพื่อที่จะสร้างรสชาติที่ไม่มีใครเคยชิมมาก่อน แม้จะเป็นเพียงอาหารแค่จานเดียวแต่ถ้าทำให้อาหารจานนั้นเป็นที่จดจำของผู้คนได้ก็นับว่าเป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับคนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘เชฟ’

     

    ‘กุ๊ก’ (Cook) คนทำอาหารและนักสร้างความสุขเล็กๆ

    กุ๊ก มีที่มาจากคำว่า Cooker หรือแปลตรงตัวว่า ‘คนทำอาหาร’ ซึ่งมีความคล้ายกับเชฟมากแต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดอยู่ อธิบายให้เข้าใจโดยง่ายไม่ว่าใครก็สามารถเป็น ‘กุ๊ก’ ได้ แค่มีใจรักในการทำอาหาร

    กุ๊กนั้นสามารถใช้เรียกคนทั่วไปที่พอมีฝีมือในการทำอาหาร  คนครัวที่ทำงานในร้านอาหารทั่วไปที่มีการทำอาหารให้ลูกค้าได้เห็นกันอย่างชัดเจนหรือง่ายๆ ก็คือพวกร้านอาหารตามสั่งก็นับว่าเป็น ‘กุ๊ก’

    หน้าที่ทั่วไปของพวกเขาก็คือการทำอาหารไม่ต่างจากเชฟเลยแต่ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูเดิมๆ ที่ผู้คนต่างกินกันเป็นประจำ บางร้านอาจมีการสร้างสรรค์เมนูขึ้นมาใหม่จากความชอบของตัวเองไม่ได้มีหลักกการในการคิดค้นเหมือนเชฟ

    แต่เสน่ห์ของคนที่เป็น ‘กุ๊ก’ นั้น คืออาหารที่เรียบง่ายแต่ให้ความรู้สึกอบอุ่นบางอย่างกับผู้กินสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพียงแค่เดินไปสั่งที่ร้านก็จะได้ลิ้มรสชาติของพวกกุ๊กแล้ว นับว่าเป็นความผูกพันที่มอบความสุขเล็กๆ ให้กับผู้กิน (คิดถึงร้านอาหารตามสั่งที่มักเรียก‘กุ๊ก’ ว่า ‘ป้า’)

     

    กล่าวโดยสรุป

    ‘เชฟ’ นั้นคือคนทำอาหารระดับสูงที่มีหน้าที่ในการคิดค้นหาเมนูอาหารใหม่ๆ เพื่อสร้างผลงานที่พัฒนาขึ้นไปอีกของวงการการทำอาหาร

    ‘กุ๊ก’ เป็นคนทำอาหารทั่วไปที่มีความรักในการทำอาหารเพียงแค่ชอบในการเข้าครัว และทำเมนูง่ายๆ ให้กับผู้คนทั่วไป หรืออีกสรรพนามที่เรามักใช้เรียกกุ๊กผู้หญิงก็คือ ‘ป้า’

     

    เราต่างเห็นการใช้สองคำนี้กันมาเยอะทั้งในภาพยนตร์หรือการ์ตูน ไว้ถ้ามีโอกาสจะมารำลึกถึงตัวการ์ตูนที่เป็นคนทำอาหารให้อ่านกัน แต่สำหรับใครที่หลงรักในการทำอาหารและมีความฝันที่อยากจะเป็น ‘เชฟ’ ในอนาคตสามารถหาแรงบันดาลใจและความรู้เกี่ยวกับการทำอาหารได้ในนิยายใหม่แกะกล่องจาก ENTER BOOKS

    ‘ยอดเชฟเทพนักปรุง’ นิยายแปลเกาหลีที่โด่งดังว่าด้วยเรื่องของความฝันที่อยากจะเป็น‘เชฟ’ ของคนๆ หนึ่ง ที่ได้รับพลังพิเศษบางอย่างที่จะช่วยให้เขากลายเป็นเชฟระดับโลก

     

    ไปพบกับสงครามแห่งรสชาติที่แสนดุเดือดได้ที่

    งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 24

    อาคารชาเลนเจอร์ 2 เมืองทองธานี บูธENTER BOOKSM11

     

     

     

    Comments

    comments

    Continue Reading

    More in Uncategorized

    นิยายยอดนิยม

    Facebook