• Connect with us

    Enter Books

    มุมชงกาแฟ

    ความหมายของ MICHELIN STAR เกียรติยศสูงสุดของคนครัว

    ถ้าจะพูดถึงรางวัลสูงสุดของคนทำอาหารคงจะไม่มีใครไม่รู้จัก ‘MICHELIN STAR’ ดาวแห่งเกียรติยศของคนครัวทั่วโลก แม้แต่ร้านอาหารในประเทศไทยเองก็มีหลายร้านที่ได้รับสัญลักษณ์แห่งคุณภาพนี้

    ในวงการอาหาร ทุกคนต่างรู้จักต้นกำเนิดและความหมายของ ‘MICHELIN STAR’ เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนทั่วไป เชื่อว่ามีหลายคนที่รู้จักเพียงชื่อแต่ไม่รู้ถึงที่มาและความหมายของมัน เพราะงั้นวันนี้เรามารู้ถึงต้นกำเนิดและความหมายของรางวัลแห่งเกียรติยศนี้กันดีกว่า

     

     

    ต้นกำเนิด MICHELIN STAR

    ก่อนที่จะมาเป็นสัญลักษณ์ที่มอบให้กับเหล่าคนครัวที่ได้รับเลือก รู้หรือไม่ว่าจุดกำเนิดของดาวดวงนี้มากจากบริษัทยาง MICHELIN ที่เราชอบล้อเลียนกันนั่นเอง มาถึงจุดคงทำให้ใครหลายคนอึ้งเป็นไก่ตาแตกกันพอสมควรว่า ‘ยาง’ มันเกี่ยวอะไรกับ ‘อาหาร’ ใจเย็นๆ และมาอ่านกันต่อ…

     

    ครั้งหนึ่งรางวัลนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเชิญชวนให้ผู้คนขับรถออกมาทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งเป็นแนวทางการตลาดของบริษัท MICHELIN ที่ว่าถ้าทำให้คนขับรถออกมาทานอาหารเยอะมากเท่าไร ก็จะยิ่งเพิ่มการใช้ยาง MICHELIN ได้มากเท่านั้น วิธีการนี้แลดูตรงข้ามกันสุดๆ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมากลับดีเกินคาด!

    และภายในปีนั้นที่มีการประกาศให้ร้านอาหารที่ได้รับคัดเลือกให้รับ MICHELIN STAR มีผู้คนจำนวนมากเดินทางไปยังร้านเหล่านั้นจนเกิดเป็นกระแสและทำให้สิ่งที่เรียกว่า MICHELIN STAR มีคุณค่าอย่างมากในฐานะคนครัว

     

     

    MICHELIN STAR เริ่มต้นที่?

    ประเทศแรกที่มีการมอบ MICHELIN STAR ก็คือ ‘ฝรั่งเศส’ และขยายต่อไปยังทั่วโลก MICHELIN STAR เริ่มต้นจากดาวเพียงดวงเดียวเพื่อเป็นเกียรติกับร้านอาหารที่ผ่านมาตรฐาน ภายหลังถึงพัฒนามาเป็นสองดาวสามดาว และดาวแต่ละดวงก็ยังมีความหมายที่แตกต่างกันอีกด้วย

     

     

    ความหมายของดาวแต่ละดวง

    อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าดาวแต่ละดวงนั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน มันแสดงถึงคุณภาพของร้านอาหารระดับสูง ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นร้านอาหารชั้นนำของโลก

     

    ดาวดวงที่หนึ่ง : ร้านอาหารที่ดีที่สุดในร้านอาหารประเภทเดียวกัน

    คือร้านอาหารที่ทำอาหารในแต่ละประเภทได้ยอดเยี่ยมเหนือร้านอื่นที่ทำอาหารในประเภทเดียวกัน เพราะฉะนั้นแต่ละร้านจึงต้องฟาดฟันกันด้วยรสชาติที่แตกต่างและเอกลักษณ์ในอาหารประเภทเดียวกันให้ได้เพื่อคว้าดาวดวงแรกนี้มาครอบครอง

     

    ดาวดวงที่สอง : ร้านอาหารยอดเยี่ยม ที่คุ้มค่าในการเดินทางไปกิน

    ความยอดเยี่ยมของรสชาติที่ไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใดก็ยังสามารถดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาลิ่มลองได้ และผู้คนเหล่านั้นต่างพูดเป็นรูปแบบเดียวกันว่า ‘คุ่มค่า’ ดาวดวงนี้จะมอบให้กับผู้ที่ทำสิ่งนี้ได้เท่านั้น

     

    ดาวดวงที่สาม : ร้านอาหารที่สักครั้งในชีวิตต้องไปลอง

    ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตของคนเรานับว่าเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างมาก ร้านอาหารที่รังสรรค์เมนูระดับที่จะมอบประสบการณ์ครั้งนั้นให้กับลูกค่าได้นั้น นอกจากความอร่อยแล้วยังต้องสร้างความแตกต่างด้านรสชาติให้ไม่เหมือนที่ใดในโลกเพื่อมอบประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตให้ลูกค่า

     

    เมื่ออ่านจบตรงนี้ถ้ามีใครสักคนพูดว่าได้ลิ่มลองรสชาติระดับ MICHELIN 5 ดาว ตัดสินได้เลยว่าไม่จริง

     

    เกณฑ์การประเมินร้านอาหารระดับ MICHELIN STAR

    วิธีการคัดเลือกร้านอาหารที่จะได้รับรางวัลแห่งคุณภาพนี้มีหลักสำคัญอยู่ทั้งหมด 5 ข้อ

     

    1. คุณภาพของวัตถุดิบ

    สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำอาหารนั่นก็คือ ‘วัตถุดิบ’ เพราะเรียกได้ว่าการเลือกใช้วัตถุดิบก็คือพื้นฐานของคนครัวเลยก็ว่าได้ ถ้าร้านไหนที่ไม่สามารถให้คุณภาพกับวัตถุดิบได้ดีพอ การรังสรรค์รสชาติที่ลูกค้าต้องการคงจะเป็นเรื่องที่ยาก

     

    1. เทคนิคระดับสูง

    เทคนิคพื้นฐานในระดับสูงเป็นสิ่งที่พ่อครัวที่ได้รับคัดเลือกต้องมี การที่จะทำอาหารชั้นยอดขึ้นมานั้นต้องอาศัยการศึกษา ฝึกฝน และทดลองซ้ำไปซ้ำมา จนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอาหาร เชฟที่มีพื้นฐานในระดับปกติไม่มีคุณค่าพอกับรางวัล MICHELIN STAR

     

    1. เอกลักษณ์เฉพาะตัวของเชฟที่ส่งผ่านทางอาหาร

    อาหารระดับสูงที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากเชฟชั้นยอดนั้นมีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่จะทำให้เชฟคนนั้นคู่ควร นั่นก็คือความแตกต่างด้านเอกลักษณ์ การสร้างอาหารชั้นยอดนั้นไม่ยากเกินความพยายาม แต่การรังสรรค์รสชาติที่มีเพียงหนึ่งเดียวนั้น คือคุณสมบัติของเชฟแต่ละคน เมนูเดียวกันแต่ให้ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือสิ่งที่ MICHELIN STAR ต้องการจากเชฟ

     

    1. ความคุ้มค่าของอาหาร

    ทั้งความสามารถของเชฟและความยอดเยี่ยมของวัตถุดิบที่ผสานกันจนเป็นรสชาติที่เลอค่าออกมานั้น สิ่งที่ต้องคำนึงอีกอย่างก็คือ ‘ความคุ้มค่า’ ต่อให้อาหารเลิศรสขนาดไหนแต่ถ้าไม่สามารถทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าที่จะมาลิ่มลองได้ต่อให้อร่อยขนาดไหนก็ถือว่าไร้คุณสมบัติของ MICHELIN STAR

     

    1. ความสม่ำเสมอของรสชาติที่ไม่ลดลง

    ถ้าผ่านหลักเกณฑ์การตัดสินทั้ง 4 แล้ว ต่อจากนี้ไปคือการรักษาคุณภาพเหล่านั้นเอาไว้ เพราะถ้าไม่สามารถรักษาความสุดยอดของอาหารที่ทำได้ ก็ถือว่าไม่มีความสามารถมากพอที่จะได้รับ MICHELIN STAR

    ปกติแล้วนักชิมมืออาชีพจะเดินทางไปชิมร้านที่ได้รับเลือก 4 ครั้ง ต่อ 1 ปี เพื่อรักษามาตรฐานให้คงอยู่

     

     

    รางวัล MICHELIN STAR จะมีอายุอยู่เพียงแค่ 1 ปี เท่านั้น หากร้านอาหารที่ได้รับรางวัลนี้มีคุณภาพต่ำลงก็จะมีการยึดรางวัลคืนทันที ในปัจจุบันมีร้านอาหารที่ถือครองดาวดวงนี้นับไม่ถ้วนแต่มีเพียงไม่กี่ร้าน ที่ยังคงรักษาตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้เอาไว้ได้ ไว้จะมานำเสนอความสุดยอดของเชฟเหล่านั้นในบทความหน้า…

     

    ในยุคสมัยที่เปิดกว้างด้านการประกอบอาชีพ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแรงบันดาลจให้กับน้องๆ ที่มีความรักในการทำอาหารได้มีไฟในการฝึกฝน มีความฝัน และพยายามสุดชีวิตเพื่อที่จะไปให้ถึงฝันนั้น ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้พบได้เห็นคนไทยอีกจำนวนมากที่จะได้ครอบครองดาวอันทรงเกียรตินี้ และช่วยยกระดับวงการอาหารของไทยให้ยิ่งใหญ่ระดับโลกด้วย

     

    รู้รึเปล่ายังมีนิยายของ ENTER BOOKS ที่ว่าด้วยเรื่องของการประชันกันด้วยรสชาติของอาหาร ผู้อ่านจะได้รับรู้เทคนิคในการทำอาหาร และอาหารแปลกๆ ที่เราไม่เคยรู้

     

    อาหารเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละพื้นที่บนโลกเราอาจได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์และความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่เรียกว่า ‘อาหาร’ ว่ามันยิ่งใหญ่แค่ไหน รับรองว่านิยายเรื่องนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านแน่นอน พบกับความยิ่งใหญ่นี้ได้ใน ‘ยอดเชฟเทพนักปรุง’

     

     

     

     

     

     

     

     

    Comments

    comments

    Continue Reading

    More in มุมชงกาแฟ

    นิยายยอดนิยม

    Facebook