• Connect with us

    Enter Books

    หนังสือเอ็นเธอร์

    7 เรื่องน่ารู้จาก ‘เพลงกลอนคลั่งยุทธ์’

    อ่าน ‘เพลงกลอนคลั่งยุทธ์’ กันมาถึงเล่ม 6 แล้ว ต้องบอกว่านอกจากได้อ่านเรื่องราวสุดเข้มข้นแล้ว ในเรื่องยังสอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไว้อีกมากมาย วันนี้ได้รวบรวม 7 เรื่องน่ารู้จากนิยายกำลังภายในเรื่องนี้มาฝากกัน

     

    1. หมวกจูเก่า (จูเก่าจิน) หรือผ้าโพกกวนจิน

    เดิมหมายถึงการพันโพกศีรษะชนิดหนึ่งโดยใช้แถบผ้าสีน้ำเงินครามคุลมครอบจุกผมของบุรุษ ตามตำนานกล่าวว่าผู้ริเริ่มคือ จูเก่อเลี่ยง ข่งหมิง (จูกัดเหลียง ขงเบ้ง) ต่อมาให้เรียกหมวกของกุนซือแม่ทัพซึ่งเป็นตำแหน่งของจูเก่อเลี่ยง ลักษณะเป็นหมวกครอบ มีเส้นริ้วลายก้นหอยโค้งไปด้านหลัง

     

    2. ซื่อชวน (เสฉวน)

    เป็นมณฑลหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีชื่อเรียกย่อว่า ‘ชวน’ และ ‘สู่’ และเนื่องจากในสมัยฉินฮั่น ซื่อชวนเป็นที่ตั้งของแคว้นปาและแคว้นสู่ จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ‘ปาสู่’

     

    3. กำแพงเมืองจันทร์เสี้ยว

    คือ กำแพงรูปพระจันทร์เสี้ยวที่สร้างเพ่ิมขึ้นอีกชั้นทางด้านนอกคูเมืิองสมัยโบราณ เสริมให้ประตูเมืองมีสองชั้น ยามออกรบสลับกันเปิดเพื่อป้องกันข้าศึกฉวยโอกาสบุกเข้ามา

     

    4. ดาบเหยี่ยไท่ หรือดาบโนดะจิ

    มีอีกชื่อเรียกคือดาบต้าไท่ (โอดะจิ) คมดาบโดยปกติยาวห้าฉื่อ (150 เซนติเมตร) ขึ้นไป เทียบกับความสูงโดยเฉลี่ยของชาวญี่ปุ่นตอนนั้นนับว่าใช้งานยากมาก นักรบยุคคะมะกุระ (ศตวรรษที่ 12-14) นิยมพกดาบโนดะจิเพื่ออวดถึงพลังความแข็งแกร่ง ต่อมาค่อยๆ ถูกคัดออกจากการสู้ศึก กลายเป็นอาวุธศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อ

     

    5. ปลาหยาง (หยางอวี๋)

    เป็นสัญลักษณ์แทน ‘หยาง’ เพราะภาพทวิลักษณ์หยินหยางซึ่งแทนความสมดุลนั้น มีลักษณะคล้ายภาพปลาสีขาวดวงตาสีดำและปลาสีดำดวงตาสีขาวว่ายวนเป็นวงกลม หมายถึงพลังที่ไม่สิ้นสุด ปลาหยางในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงปลาชื่อเดียวกันที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

     

    6. หมวกฮุ่นหยวน

    เดิมเป็นเครื่องครอบศีรษะของนักพรตเต๋านิกายฮุ่นหยวน ต่อมานิกายฮุ่นหยวนผนวกรวมกับนิกายเฉวียนเจิน จึงเป็นเครื่องแบบที่สวมคู่กับชุดถือพรตของเฉวียนเจินด้วย ลักษณะหมวกหุ้มด้วยผ้าสีดำเป็นทรงกลมมีรูตรงกลาง

     

    7. ควบม้าล่องศร หรือยะบุสะเมะ

    คือวิชายิงธนูบนหลังม้าของญี่ปุ่นในสมัยโบราณ โดยน้าวคันธนูยิงศร ในขณะที่ม้าวิ่งด้วยความเร็วสูง ในยุคที่บ้านเมืองสงบสุขจึงค่อยๆ กลายเป็นกีฬาแข่งขัน และปัจจุบันถือเป็นพิธีการในศาลเจ้าลัทธิชินโต

    Comments

    comments

    Continue Reading

    More in หนังสือเอ็นเธอร์

    นิยายยอดนิยม

    Facebook