• Connect with us

    Enter Books

    หนังสือเอ็นเธอร์

    Stockholm Syndrome หลง-ลัก-อาชญากร

    คนเราจะหลงรักคนเลวได้หรือเปล่า? คนจะรักและอดทนยอมให้คนที่เคยทำร้ายเราได้ไหม?

    หากคำถามนี้ถูกถามในสถานการณ์ปกติเชื่อเหลือเกินว่าคำตอบที่ได้คงออกมาในทิศทางเดียวกัน…คือไม่มันมีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างหลงรักก่อนพบว่าร้าย และพบว่าร้ายก่อนจะรัก ซึ่งเรากำลังพูดถึงประเภทหลัง ถ้าหากคนคนนั้นถูกตีตราว่า ‘โจร’ ถึงจะยังไม่รู้ว่าคดีอะไร แต่เราก็คงไม่อยากจะเข้าใกล้แล้ว แต่...โลกนี้ก็ยังมีที่ว่างให้ความแปลกประหลาดเสมอ ฉะนั้นเราจะขยายคำถามให้ชัดเจนขึ้นอีกสักนิด

    ท่านผู้อ่านคิดว่าคนเราจะหลงรักและแต่งงานกับโจรที่เคยจับเราเป็นตัวประกันเพื่อต่อรองกับตำรวจได้ไหม

    คำตอบคือ...ได้ เพราะมันเคยเกิดขึ้นแล้ว!

    แน่นอนว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุการณ์ปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป ทำให้บรรดานักจิตวิทยาต้องหันมาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง จนได้ชื่อกลุ่มอาการนี้ว่า Stockholm Syndrome (สตอกโฮม ซินโดรม)

    ขอบคุณภาพจาก http://www.freeimages.com/photo/bullets-1-1544922

    ชื่อ Stockholm Syndrome ก็มีจากชื่อเมืองที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นนั่นเอง โดยใน ค.ศ.1973 เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ได้เกิดคดีปล้นธนาคารขึ้น ซึ่งคนร้ายได้จับตัวประกันไว้ในนั้นนานเกือบ 5 วัน แต่ขณะที่ตำรวจจะบุกเข้าไปจับกุม ตัวประกันกลับเข้าปกป้องคนร้าย และหลังจากนั้นยังมีตัวประกันบางคนถึงขั้นแต่งงานกับคนร้ายเสียอีก

    ว่ากันอย่างง่ายๆ Stockholm Syndrome คือ อาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งมักเกิดกับตัวประกันหรือเชลยที่ถูกจับตัวไป และได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนร้ายจนเกิดความผูกพันขึ้นมาและเอนเอียงเห็นด้วยไปกับคนร้ายแต่ Stockholm Syndrome ไม่ได้มีความหมายในทางความผูกพันอย่างเดียว เพราะการถูกข่มขู่ว่าจะทำร้าย ให้อดอาหาร หรือฆ่าทิ้ง จนทำให้ตัวประกันรู้สึกหวาดกลัวจนร่วมมือ ก็จัดเป็น Stockholm Syndrome เช่นกัน

    ขอบคุณภาพจาก http://www.freeimages.com/photo/shadow-kiss-1464496

    เคสของ Stockholm Syndrome ที่มีชื่อเสียงมักเกี่ยวกับคดีลักพาตัวต่างๆ เราอาจเคยได้ยินว่าเหยื่อบางคนถูกจับตัวไปหลายปี และแม้จะมีอิสระพอสมควร แต่พวกเขาหรือเธอไม่กลับไม่ยอมหนี เพราะเหยื่อที่ถูกจับจะถูกปลูกฝังความคิดว่าหนีไปก็ไร้ประโยชน์ หรือหากพยายามหนีก็จะถูกทำร้ายหรือกักขัง หรือถูกฆ่า หากไม่ร่วมมือก็จะถูกทำร้ายอีก บรรดาเหยื่อจึงต้องอยู่ในสภาพจำยอมเหมือนกับทาส และบางครั้งจำต้องยอมร่วมมือก่ออาชญากรรมไปด้วย

    เคยมีคดีที่แม้คนร้ายมีเพียงคนเดียว แต่เหยื่อที่ถูกจับมามีหลายคน ก็ไม่มีใครคิดหนีหรือพยายามร่วมมือกันหาทางออกไป เพราะถูกปลูกฝัง Stockholm Syndrome เข้าไปแล้ว ทำให้รู้สึกไม่เชื่อใจกันคิดว่าอีกฝ่ายเป็นพวกเดียวกับคนร้ายชวนให้คิดว่ากำลังถูกจับตาไม่มีทางหนีไม่มีทางออก จนหมดพลังใจที่จะต่อสู้หรือดิ้นรน และบางคนอาจทนอยู่ได้นานนับสิบปี ก็เพราะยอมรับได้ว่าคนร้ายก็มีด้านที่ทำดีต่อตนเองอยู่บ้าง (ทั้งที่อีกฝ่ายเป็นคนลักพาตัวมานี่แหละ)

    ขอบคุณภาพจาก http://www.freeimages.com/photo/chain-1173519

    แน่นอนว่าพูดถึงตรงนี้ ก็คงจะพอมองออกกันแล้วว่าในนวนิยายหรือละครไทยก็มี Stockholm Syndrome แฝงอยู่หลายเรื่อง ที่ไม่ว่าอีกฝ่ายจะทำร้ายตบตี ย่ำยี หรือกักขังไว้อย่างไรแต่สุดท้ายก็รักซึ่งเป็นมุมมองที่คนภายนอกยากจะเข้าใจ จึงมักเกิดคำถามและความเห็นว่า ทำไมถึงรักลง ทำไมมีโอกาสแล้วไม่หนีออกมา การถูกขังแบบนั้นให้ตายเสียยังดีกว่า แต่ในความเป็นจริง ผู้ที่มีอาการ Stockholm Syndrome ก็เหมือนผู้มีป่วยทั่วไปที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็น

    หรือบางคนแม้จะอยากตายแค่ไหนก็ทำไม่ได้ และไม่ใช่เพราะไม่มีวิธีด้วย แต่เพราะต้องอยู่ให้ได้ เหมือนอย่าง ‘เกรซ’ ในนวนิยายเรื่อง ‘Behind closed doors ปิด ประตู ตาย’ ที่ไม่ว่ายังไงก็ต้องทนและห้ามยอมแพ้ แต่เป็นเพราะอะไรนั้น ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงต้องไปตามหาเฉลยกันในเล่มเท่านั้น!

    Behind closed doors ปิด ประตู ตาย

    Comments

    comments

    Continue Reading

    More in หนังสือเอ็นเธอร์

    นิยายยอดนิยม

    Facebook